หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บทที่8 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ



ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความหมาย
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐ ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยรัฐหรือตัวแสดงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่รัฐ ซึ่งส่งผลถึงความร่วมมือหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศต่าง ๆ ในโลก

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล หรือสังคม ซึ่งเกิดขึ้นข้ามขอบเขตของกลุ่มสังคมการเมืองหนึ่ง ๆ ในกรณีความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยด้วยกัน หรือกลุ่มคนไทยด้วยกันในประเทศไทย ไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยกับคนลาวถือว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือ และความขัดแย้งระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทบกระเทือนการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในสังคมโลก อ่านเพิ่ม

บทที่7 สิทธิมนุษยชน


  สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิพื้นฐานในความเป็นมนุษย์ ซึ่งมีสิทธิที่กฏหมายกำหนดและสิทธิที่ไม่ระบุไว้เป็นกฏหมาย
ความหมายของสิทธิมนุษยชน
หมายถึง สิทธิที่ทุกคนมีอยู่ในฐานะเป็นมนุษย์ ทั้งสิทธิในการดำรงชีวิตอยู่ในส่วนบุคคลและสิทธิในการอยู่ร่วมกันในสังคม สิทธิในความเป็นมนุษย์นั้น มีทั้งสิทธิตามกฏหมายและสิทธิที่มีอยู่โดยไม่ขึ้นอยู่กับบทบัญญัติของกฏหมาย แต่เป็นสิทธิที่เกิดจากมาตรฐานเพื่อความถูกต้อง ความเป็นธรรม หรือความยุติธรรม แต่เดิมสิทธิมนุษยชนจะกล่าวถึงในชื่ออื่น เช่น สิทธิในธรรม สิทธิในธรรมชาติ เป็นต้น
สิทธิมนุษยชนจะครอบคลุมสิทธิต่างๆ ในการดำรงชีวิตของมนุษย์เพื่อให้มีชีวิตที่ดีในสังคมดังนี้

บทที่ 6กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติและสังคมโลก


สาระการเรียนรู้
1.   ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย
2.   กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว
3.   กำหมายแพ่งที่เกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา
4.   กฎหมายอาญา
5.   โมฆกรรมและโมฆียกรรม
6.   กฎหมายอื่นที่สำคัญ
7.   ข้อตกลงระหว่างประเทศ อ่านเพิ่ม

บทที่ 5 เรื่อง การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


   เรื่อง การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

สังคมทุกสังคมจะเจริญก้าวหน้าเป็นปึกแผ่นได้ ย่อมต้องมีระเบียบวินัยและผู้นำของสังคมเป็นหลักในการปกครอง ผู้นำของสังคมระดับประเทศโดยเฉพาะระบอบประชาธิปไตยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของประธานาธิบดีหรือพระมหากษัตริย์ สำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่การใช้พระราชอำนาจด้านนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ทรงมิได้ใช้พระราชอำนาจเหล่านั้นด้วยพระองค์เอง แต่มีองค์การหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบต่าง ๆ กันไป พระราชอำนาจทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นฐานะประมุขของรัฐ หรือในฐานะอื่น ได้ถูกกำหนดไว้โดยชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญ อ่านเพิ่ม


บทที่ 4 การเป็นพลเมืองดีของชาติและสังคมโลก



สาระการเรียนรู้

1.การเคารพกฎหมายและกติกาสังคม

2.การเคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและบุคลอื่น

3.การมีเหตุผล รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

4.การมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ชุมชน ประเทศชาติและสังคมโลก

5.การเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองการปกครอง

6.การมีส่วนร่วมในการป้องกัน แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง และสิ่งแวดล้อม

7.การมีคุณธรรมจริยธรรมเป็นหลักในการดำเนินชีวิต อ่านเพิ่ม

บทที่3 เรียนรู้วัฒนธรรม




หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรียนรู้วัฒนธรรม

ความหมายและความสำคัญของวัฒนธรรม

 ความหมายของวัฒนธรรม

          วัฒนธรรม หมายถึง แบบแผนการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่มนุษย์สร้างขึ้นในแต่ละสังคม ซึ่งแต่ละสังคมจะต้องมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป
 พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้นิยามความหมายของวัฒนธรรมไว้ 2 นัย ดังนี้

       1.สิ่งที่ทำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมไทย, วัฒนธรรมในการแต่งกาย เป็นต้น


       2.วิถีชีวิตของหมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมพื้นบ้าน, วัฒนธรรมชาวเขา เป็นต้น อ่านเพิ่ม

บทที่ 2 พัฒนาการสังคมไทย


การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
สังคมมนุษย์มีลักษณะเช่นเดียวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ คือ มีการเปลี่ยนแปลง บางสังคมเปลี่ยนแปลงช้าขณะที่บางสังคมเปลี่ยนเร็ว ในอดีตสังคมส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ จนเกือบไม่มีอะไรเปลี่ยนอย่างสำคัญในรอบร้อยปี แต่ในระยะประมาณร้อยปีที่แล้วสังคมจำนวนหนึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากสภาพสังคมแบบโบราณกลายเป็นสังคมสมัยใหม่ ที่เห็นชัดเจนคือการเปลี่ยนจากสังคมแบบเกษตรกรรมมาเป็นสังคมอุตสาหกรรม จากสังคมแบบชนบทมาเป็นสังคมเมือง เป็นต้น เนื้อหาต่อไปจะเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในประเด็นต่างๆ อ่านเพิ่ม
















หน้าที่พลเมือง











บทที่ 1 สังคม

สาระการเรียนรู้
1.โครงสร้างสังคม
-การจัดระเบียบทางสังคม
-สถาบันทางสังคม
2.การขัดเกลาทางสังคม
3.การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
4.การแก้ปัญหาและแนวทางการพัฒนาสังคม